“สมัยนี้ไม่เข้าเซเว่น ก็อยู่ไม่ได้ แต่เข้า เซเว่นก็อยู่ไม่ได้”
คำพูดที่เจ้าของกิจการ SME หลายท่านอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้าง
คราวที่แล้วเราได้พูดกันถึงเรื่องการเตรียมทุนทรัพย์ เมื่อคุณต้องนำสินค้าเข้าไปขายใน เซเว่น อีเลฟเว่น กลับไปอ่านได้จาก ลิงค์ด้านล่างครับ
จะเอาสินค้าเข้าไปขายใน เซเว่น อีเลฟเว่น ต้องมีเงินเตรียมไว้เท่าไหร่
วันนี้ตามสัญญา เราจะมาดูว่าสินค้าของคุณถ้าจะเอาเข้าไปขายใน เซเว่น อีเลฟเว่น เงินจะเหลือกลับมาถึงคุณกี่บาท และจุดคุ้มทุน มันอยู่ตรงไหน
ถ้าพร้อมแล้ว เตรียมดราม่าครับ
ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักกับคำศัพท์เบื้องต้นกันก่อน
GPM- Gross Profit Margin: คืออัตรากำไรขั้นต้น ที่ เซเว่น เก็บจากเราโดยจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์บนราคาขายหน้าร้านรวม VAT (Retail selling price: RSP) ของสินค้าของเรา และจะหักออกจากราคาขายก่อน VAT และกลายมาเป็น “ราคาส่ง” ของสินค้าของเราให้ เซเว่น
DC Fees (Distribution center fees) คือค่าขนส่งสินค้าที่ทาง เซเว่นจะคิดจากเราเป็นค่าส่งสินค้า จากศูนย์กระจายสินค้าของทาง เซเว่น ไปยังสาขาต่างๆ ซึ่ง ค่า DC Fees นี้บางครั้งจะรวมอยู่ใน GPM แล้ว
Display Fees หรือค่าจัดวางสินค้า: เครื่องดื่มบางประเภททาง เซเว่นจะมีการเก็บ ค่าตั้งวางซึ่งจะคิดเปอร์เซนต์บน “ราคาส่ง”ก่อน VAT โดยที่ Display Fees นี้ทาง เซเว่นจะเรียกเก็บทุกๆ 45 วัน โดยหักจากเงินที่จะจ่ายค่าสินค้าของเราในงวดนั้นๆ
Annual Rebate หรือค่าเงินจูงใจประจำปี ในกรณีที่ทางเรามีการ Set Target การขาย กับทางเซเว่น เอาไว้ว่าในรอบซื้อ 12 เดือน ถ้าทาง เซเว่น สามารถซื้อของเราไปขายได้ถึงยอดที่กำหนด เราจะต้องจ่าย rebate หรือเงิน จูงใจตาม เปอร์เซ็นต์ที่ตกลง ซึ่งรายจ่ายนี้จะหักจาก Invoice ของเราในรอบสิ้นปี โดยคิดจากยอดซื้อทั้งปีที่ เซเว่น ซื้อจากเราไป
เอาล่ะครับ ก่อนที่จะงงกันไปมากกว่านี้ เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เราจะให้ดู รายละเอียดของรายจ่ายข้างต้นใน Trading Term (สัญญาการค้า ที่ ผู้ประกอบการได้ทำกับ เซเว่น อีเลฟเว่น) ของเครื่องดื่มแบรนด์หนึ่ง
คราวนี้เราลองมาดูในส่วนของผู้ประกอบการครับ เราจะใช้ตัวเลขต้นทุนการผลิต จากบทความคราวที่แล้วและกำหนดราคาขายหน้าร้านไว้ด้วย
ทีนี้เราลองเอาทั้งหมดมาใส่เป็นตารางหรือเราอาจจะเรียกว่า Feasibility อย่างย่อเพื่อให้เราได้เห็นภาพกางลงทุนของเราที่ชัดขึ้นนะครับ
จากตาราง หัวข้อในวงกลมสีชมพู คือปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้ เราทำมาให้ดู 3 Scenario ด้วยกัน เพื่อเปรียบเทียบ
Scenario 1 สินค้าของเราที่ขายในเซเว่น อีเลฟเว่นนั้นขาดทุน ครับและเราไม่สามารถขายของขาดทุนได้ฉะนั้น Feasibility แบบนี้ไม่ผ่าน
Scenario 2 ลองดูว่าเราสามารถลด ค่าทำโปรโมชั่นลงได้หรือไม่เพื่อเพิ่มกำไร แต่ก็จะทำให้คนรู้จักและทดลองสินค้าของเราน้อยลง
Scenario 3 เราสามารถ ที่จะดูทางเลือกอื่นเช่น หาแหล่งผลิตและบริษัทขนส่ง ที่ราคาถูกลงหรือเราสามารถขอทำ Rebate กับ โรงงานเมื่อเราผลิตในจำนวนที่มากขึ้น เพื่อมาเฉลี่ยค่าผลิตของเรา
Scenario ต่างๆในตาราง ยังไม่ได้รวมค่า Listing Fees หรือค่าแรกเข้าที่เราพูดกันไปเมื่อบทความที่แล้วนะครับ นะครับ ถ้าจะคิดง่ายๆคือ สมมุติว่า 3 เดือนแรก คุณแพลนว่าจะขายสินค้า 750,000 ขวด ก็เท่ากับในสามเดือนแรกคุณจะมีค่า Listing Fees อยู่ใน Feasibility ของคุณอีกขวดละ 1 บาท
คราวนี้ ผู้ประกอบการที่อ่านบทความนี้อยู่ก็น่าจะพอมีไอเดียคร่าวๆแล้วว่า “สุขภาพ” ของธุรกิจของเราจะเป็นอย่างไรเมื่อนำสินค้าเข้าไปขายใน เซเว่น อีเลฟเว่น และมีปัจจัยไหนที่จะทำให้เราได้กำไรมากขึ้นบ้าง
หากมีข้อสงสัย เพิ่มเติม ทางDrink-Space สามารถให้คำปรึกษาคุณได้ครับ
คราวหน้าเราจะออกจาก เซเว่นแล้วไปดูเทรนด์เครื่องดื่มกันบ้าง
พบกันใหม่คราวหน้าครับ
สวัสดีครับ
Copyright © 2020
Second Opinion Consulting co.,ltd
All rights reserved.
Drink-Space is a brand under Second Opinion Co., Ltd.
Copyright © 2020
Second Opinion Consulting co.,ltd
All rights reserved.
Drink-Space is a brand under
Second Opinion Co., Ltd.